คู่มือนักศึกษาแพทย์วิถีธรรม




คู่มือนักศึกษาแพทย์วิถีธรรม (พวธ.)
ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
สวนป่านาบุญ
๑๑๔ หมู่ ๑๑ ต. ดอนตาล อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ๔๙๑๒๐
Email address : suanpanaboon_BMEd@gmail.com
หลักสูตร ๗ ปี ปีการศึกษา ๒๕๕๕

พึ่งตน ประหยัด เรียบง่าย ขยัน  แบ่งปัน





ความหมายแพทย์วิถีธรรม
แพทย์วิถีธรรม คือ การแพทย์ที่บูรณาการองค์ความรู้ โดยเอาจุดดีของวิทยาศาสตร์สุขภาพ การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์พื้นบ้าน รวมถึงหลัก 8 อ. เพื่อสุขภาพดีของสถาบันบุญนิยม มาบริหารจัดการองค์ความรู้ ประยุกต์ ผสมผสาน บูรณาการด้วยพุทธธรรม และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเหมาะสม ให้สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือลดปัญหาสุขภาพ ณ สภาพสังคม สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน  ในวิธีที่ประหยัด เรียบง่าย ปลอดภัย ได้ผลเร็ว แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ พึ่งตนเองได้ ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลัก และมีความยั่งยืน
เป้าหมายของแพทย์วิถีธรรม
๑.     ชีวิตพอเพียง เรียบง่าย
๒.   ร่างกายแข็งแรง
๓.   จิตวิญญาณดีงาม
       ๔.   จิตวิญญาณที่เป็นสุข
หลักปฏิบัติของจิตอาสาและนักศึกษาแพทย์วิถีธรรม
๑.     ทำงานฟรี
๒.   พึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์
๓.   ถือศีล ๕ ละอบายมุข เป็นอย่างน้อย
๔.   เคารพมติหมู่/อัตตาไม่จัด

คุณลักษณะของจิตอาสาและนักศึกษาแพทย์วิถีธรรม
“พึ่งตน  เรียบง่าย ประหยัด ขยัน แบ่งปัน”
ผู้แบ่งปัน ผู้ให้ ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน คือ การให้โดยการทำงานฟรี
อาชีพทำงานฟรี เป็นอาชีพที่ดีที่สุดในโลก เป็นอาชีพที่มั่นคง
                             มีคุณค่าและผาสุกที่สุดในโลก
การทำงานฟรี     เป็นอาชีพของผู้เสียสละ เป็นอาชีพของผู้ฉลาด
                           และผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง
ชีวิตที่พึ่งตนและแบ่งปัน เป็นคำตอบของชีวิตที่ผาสุกที่สุด
นอกจากการแบ่งปันเผื่อแผ่กันแล้ว สัตว์ทั้งปวงหามีที่พึ่งอย่างอื่นไม่
 (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ ข้อ ๑,๐๗๓)

คุณสมบัติของผู้เป็นจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมที่เหมาะสม

ผู้เป็นจิตอาสา หมายถึง

·      ผู้ที่ทำงานโดยมีคุณธรรมในตนเอง มีความเสียสละและไม่หวังผลตอบแทน
·      มีความเป็นผู้นำ        มีพรหมวิหาร ๔
·      มีความยืดหยุ่นในการทำงาน
·      รักษาอารมณ์ได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานเป็นหมู่คณะได้  
·      สุขภาพเอื้ออำนวยสำหรับทำงานเคลื่อนไหวได้สะดวก
·      สามารถให้คำแนะนำเรื่องเทคนิค ๙ ข้อ ตามแนวทางแพทย์วิถีธรรมได้ 

3 ความคิดเห็น: